วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ม.บูรพา




เมื่อพุทธศักราช 2498 รัฐบาลซึ่งมี ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และมี ฯพณฯ พลเอก มังกร พรหมโยธี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายที่จะขยายการศึกษาระดับอุดม ศึกษาออกสู่ส่วนภูมิภาค ประกอบกับในระยะนั้นประเทศกำลังมีความต้องการครูในระดับปริญญาตรีเป็นจำนวน มาก โดยดำริของ ฯพณฯ พลเอก มังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีความเห็นว่า วิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตประสานมิตร ซึ่งได้รับการยกฐานะขึ้นจากโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง เมื่อปี 2497 ได้ทำหน้าที่ผลิตครูระดับปริญญาอยู่แล้ว หากตั้งอยู่ในส่วนกลาง ถ้าได้ขยายวิทยาเขตออกสู่ส่วนภูมิภาค ก็จะทำให้สามารถตอบสนองต่อนโยบายการกระจายการศึกษาออกจากส่วนกลางได้ ด้วยประการฉะนี้ วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน จึงได้รับการก่อตั้งขึ้น ณ ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ซึ่งถือว่าเป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค


เหตุผลสำหรับการขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษา ออกมาสู่ส่วนภูมิภาค คือบางแสน เป็นแห่งแรกนั้น เพราะคณะผู้บริหารในสมัยนั้น เห็นว่าบางแสนอยู่ในทำเลที่เหมาะสม กล่าวคือ ไม่ไกลจากจังหวัดพระนครซึ่งเป็นแหล่งวิชาการมากนัก สามารถถ่ายเทบุคลากรได้สะดวกประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่ง บางแสน เป็นศูนย์กลางของสถานที่พักผ่อนตากอากาศที่มืชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน อย่างแพร่หลายในสมัยนั้น ซึ่งจะสามารถดึงดูดนิสิตนักศึกษาให้มาศึกษาต่อ ณ สถานศึกษาแห่งนี้ และที่สำคัญก็คือ บางแสนเป็นจุสกัดกั้นที่เหมาะที่สุดที่จะรับเยาวชนในภาคตะวันออกมิให้หลั่ง ไหลเข้าศึกษาต่อในพระนคร

ข้ออ้างข้อความตอนหนึ่ง ในหนังสือที่ระลึกวางศิลาฤกษ์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2498 ดังต่อไปนี้ "...ระเบียบการปกครองของคนเรา ได้เป็นแบบสังเกณฑร์มาแต่ต้น คือศูนย์กลางการบริหารอยู่ที่เมืองหลวงแห่งเดียวดังนั้นความเจริญทางการ ศึกษา จึงมาประชุมอยู่ในพระนคร ผลของการนี้ทำให้นักเรียนที่ต้องการวิชาชั้นสูงต้องพากันเข้ามาใน พระนคร และเกิดความเชื่อว่า การศึกษาดี ๆ จะหาได้ในพระนครแต่แห่งเดียว การเปิดรับนิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษา ขึ้นที่ตำบลบางแสน จังหวัดชลบุรีนี้ หันเข้ารูปวิเกณฑร์ เป็นการขยายการศึกษาชั้นสูงมายังส่วนภูมิภาค ความเชื่อที่เรามีมาแต่เดิมอาจทำให้นึกไปว่า คุณภาพของการศึกษาจะย่อยไปกว่าในพระนคร มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลบล้างความรู้สึกนี้ มิฉะนั้น นักเรียนจะไปรวมกันอยู่ในพระนครหมด ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียทั้งในส่วนพระนคร และส่วนภูมิภาค ดังที่ได้เห็นกันอยู่แล้ว ตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี เป็นสถานที่อันเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางการศึกษาอึกแห่งหนึ่งรองจากจังหวัด พระ นคร แต่กว่าจะเห็นกันได้ชัดเจนคงต้องใช้เวลาอยู่สักหน่อย เราซึ่งเป็นพวกมาก่อนและเป็นพวกนำ จะต้องช่วยกันสร้างชื่อเสียงของศูนย์กลางการศึกษาแห่งนี้ให้ปรากฎสืบไป..."

แต่โดยเหตุที่การสนองตอบนโยบายอขงรัฐบาลในอันที่จะกระจายการศึกษา ระดับอุดมศึกษาออกสู่ส่วนภูมิภาคเป็นไปอย่างเร่งรีบ และโดยที่ความพร้อมในด้านต่าง ๆ สำหรับการดำเนินเพื่อการนี้ไม่ทันกับความคิดกว้างไกลและลึกซึ้งของ ฯพณฯรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน จึงถูกเนรมิตขึ้นก่อนที่จะถึงวันสถาาปนาอันแท้จริงคือวันที่ 8 กรกฎาคม 2498 กล่าวคือก่อนหน้านั้นได้มีการประการรับสมัครนิสิตเข้าเรียนและได้มีการสอบ คัดเลือกกันในเดือนพฤษภาคม 2498 นิสิตรุ่นแรกที่ผ่านการสอบคัดเลือกเป็นชายทั้งสิ้นมีจำนวน 41 คน ได้เดินทางมาสู่บางแสนพร้อมกันในวันที่ 30 มิถุนายน 2498 และเริ่มเรียนเป็นวันแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2498

ในระยะแรกนั้นวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน มีเพียงชื่อ มีอาจารย์ 7 ท่าน ซึ่งได้ฉายาว่า "เซเว่นอัพ" มี ดร.ธำรง บัวศรี เป็นผู้รักษาการรองอธิการ มีนิสิตเพียง 41 คน ไม่มีอาคารเรียน ไม่มีหอพัก หรือบ้านพักอาจารย์ ไม่มีแม้ห้องอาหารเป็นของตนเองเลยต้องอาศัยทุกสิ่งทุกอย่างจากวิทยาลัย บางแสน ซึ่งในระยะนั้นเป็นสถานศึกษาของกรมวิสามัญศึกษา

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2498 ได้มีพิธีเปิดป้ายนาม "วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน" และวางศิลาฤกษ์อาคารอำนวยการ โดยมี ฯพณฯ พลเอก มังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานสภาวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นประธานในพิธี ท่านได้กล่าวสุนทรพจน์ ไว้ตอนหนึ่งว่าดังนี้

"...ในส่วนนิสิต 41 คนนั้นข้าพเจ้าขอให้ท่านได้ระลึกว่าท่านเป็นนิสิตรุ่นแรกของวิทยาลัยแห่ง ใหม่ที่สุดท่านจะต้องสร้างขนบประเพณีอันดี ต้องสร้างเกียรตินิยมไว้ให้เป็นแบบอย่างแก่นิสิตวันต่อไป ซึ่งจะเป็นประหนึ่ง น้อง ลูก หลาน เหลน ของท่านในอนาคต ท่านจะต้องรัก และ รักษาสถานศึกษาแห่งนี้ข้าพเจ้ามั่นใจว่าจะได้มีโอกาสมามอบปริญญาบัตรอันมี เกียรติให้แก่ท่านจงตั้งใจจริงทำงานจริงเพื่อชื่อเสียงแห่งวิทยาลัย..."

ในวันเดียวกันนี้เองหม่อมหลวง ปิ่น มาลากุล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้มาร่วมเป็นเกียรติในพิธีดังกล่าวด้วย ท่านได้มอบคำขวัญสำหรับวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ให้ในวันนั้นด้วย ดังนี้

วันที่แปดกรกฎกำหนดไว้

ขยายออกท้องถิ่นจินตนา

เลือกจำเพราะเหมาะดีที่บางแสน

วางศิลาฤกษ์ลงตรงชายไพร

ดังมะพร้าวแผ้วถางสร้างถนน

เพราะน้ำหอมระรื่นชื่นอุรา

ท่านผู้ใดจะใช้ถนนนี้

ว่าตนช่วยสร้างวิทยาลัย
เป็นวันวิทยาลัยการศึกษา

ให้อุดมศึกษาแก่ชาวไทย

ต้องวางแผนกะการเป็นงานใหญ่

เพื่อจะได้ตึกงานอร่ามตา

แต่ละต้นเสียดายเป็นหนักหนา

แต่เพื่อการศึกษาก็จำใจ

ทุกทิวาน่าที่จะครวญใคร่

ให้ชื่อหอมแทนได้หรือไม่เอย


ก้าวต่อมา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน (พ.ศ.2517 - 2533)

ในปี 2517 โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อมหาวิทยาลัยการศึกษาได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน จึงมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ไปด้วย

เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลในการให้บริการทางการศึกษาแก่ท้องถิ่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ได้เปิดรับนักเรียนดีในภาคตะวันออกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2523 ซึ่งในปีนี้รับเพียงร้อยละ 30 ของจำนวนนิสิตที่จะรับเข้าทั้งหมด คือรับเพียง 124 คน ในปีต่อมาจึงเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 35,40 และ 50 ตามลำดับ

ก้าวที่สองของการเริ่มต้นดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ นับเป็นก้าวสำคัญและมั่นคงเป็นพื้นฐานของก้าวต่อไปคือการเป็นมหาวิทยาลัย เอกเทศโดยสมบูรณ์ที่มีชื่อว่า "มหาวิทยาลัยบูรพา"